วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โครงสร้างโปรแกรม


โครงสร้างของโปรแกรม 1 โปรแกรมปาสคาล โปรแกรมในภาษาปาสคาล แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ 1. ส่วนหัว (Heading) เป็นการประกาศชื่อของโปรแกรม ขึ้นต้นด้วยคำว่า PROGRAM ตามด้วยชื่อของโปรแกรม และจบบรรทัดด้วย ; รูปแบบ PROGRAM ชื่อโปรแกรม (รายชื่ออุปกรณ์); ตัวอย่าง PROGRAM EXAM1; PROGRAM EXAM1(INPUT,OUTPUT); ข้อสังเกต ชื่ออุปกรณ์ คือ INPUT, OUTPUT หรือชื่อของไฟล์ที่เกี่ยวข้องภายในโปรแกรมถ้าไม่ระบุจะถือว่า INPUT เข้าทาง keyboard และ OUTPUT ออกทางจอภาพ 2. ส่วนข้อกำหนด (Declaration part) คือส่วนตั้งแต่ส่วนหัวไปจนถึงคำว่า BEGIN ของโปรแกรมหลัก และเป็นส่วนที่เรากำหนดค่าต่าง ๆ ดังนี้ 2.1 VAR เป็นการกำหนดแบบของข้อมูลให้แก่ตัวแปร รูปแบบ VAR รายชื่อตัวแปร : ประเภทของข้อมูล; ตัวอย่าง VAR I,J,K : INTEGER; NAME : STRING; SALARY : REAL; 2.2 TYPE เป็นการกำหนดแบบของข้อมูลขึ้นใหม่ รูปแบบ TYPE ชื่อของแบบ = ประเภทหรือค่าของข้อมูล; ตัวอย่าง TYPE SCORE = INTEGER; WEEK = (MON, TUE, WED, THU, FRI); VAR TEST, MIDTERM, FINAL : SCORE; DAY : WEEK; จากตัวอย่างต้องประกาศชื่อแบบของตัวแปรก่อนแล้วจึงประกาศชื่อตัวแปรที่เป็นแบบ 2.3 CONST เป็นการกำหนดค่าคงที่ รูปแบบที่ 1 CONST รายชื่อค่าคงที่ = ค่าที่กำหนด; รูปแบบที่ 2 CONST รายชื่อค่าคงที่ : ประเภทของข้อมูล = ค่าที่กำหนด; ตัวอย่าง CONST HEAD = ‘EXAMINATION’; CONST A = 15; CONST SALARY : REAL = 8000.00; 2.4 LABEL ใช้คู่กับคำสั่ง GOTO ภายในโปรแกรม รูปแบบ LABEL รายชื่อของ LABEL; ตัวอย่าง LABEL 256,XXX; เช่น GOTO 256; GOTO XXX; 3. ส่วนคำสั่งต่าง ๆ (Statement Part) เป็นส่วนสุดท้ายของโปรแกรม ขึ้นต้นด้วย “BEGIN” และปิดท้ายด้วย “END.” ตัวอย่าง BEGIN Statement หรือคำสั่งต่าง ๆ ; END. 2 โปรแกรมภาษา C โครงสร้างของภาษา C ทุกโปรแกรมของภาษา C มีโครงสร้างเป็นลักษณะดังรูป 3 Basic โดรงสร้างในการเขียนโปรแกรมด้วย Visual Basic • การประกาศตัวแปร o แบบ Implicit o แบบ Explicit • กฎการตั้งชื่อตัวแปรและค่าคงที่ o การตั้งชื่อคอนโทรลและอ๊อบเจ็กต์ ตามคำแนะนำของไมโครซอฟท์ชนิดของข้อมูลการใช้งานตัวแปรแบบใช้สัญลักษณ์พิเศษกำกับขอบเขตของตัวแปร o ตัวแปรแบบ Local o ตัวแปรแบบ Public • การใช้งานตัวแปรร่วมระดับโพรซีเดอร์การตั้งชื่อตัวแปรแบบบอกชนิดและขอบเขตตัวแปรอาร์เรย์ o แบบสแตติก o แบบไดนามิกการสร้างตัวแปรอาร์เรย์มากกว่า 1 มิติการใช้งานคอนโทรลอาร์เรย์การสร้างชนิดของข้อมูลขึ้นใช้เองการประกาศค่าคงที่ตัวดำเนินการใน Visual Basic 6.0 o ด้านคณิตศาสตร์ o ด้านตรรกะ o ด้านการเปรียบเทียบ o ด้านเชื่อมข้อความ 4 Assembly โปรแกรม จะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ ซึ่งอยู่ในรูปแบบของเลขไบนารี่ที่เรียกว่าภาษา Machine ซึ่งเป็นภาษาที่สามารถ ติดต่อให้คอมพิวเตอร์ เข้าใจได้ ภาษา Machine นี้จะจัดให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นเลขฐานสิบหก (HEX) เช่น คำสั่ง 8 บิต 11101011B (B-ไบนารี่) เขียนได้เป็น 0EBH(H-ฐานสิบหก) แต่ก็เป็นการที่จะเข้าใจความหมาย ได้ยากในการใช้งาน การที่จะทำความเข้าใจภาษา Machine จะมีการใช้สัญลักษณ์ (Symbols) ที่เรียกว่า Mnemonics เพื่อแทนความหมายของคำสั่ง เช่น MOV A,#67H หมายความว่านำข้อมูลค่าคงที่ 67H ไปเก็บไว้ใน reg. A) โปรแกรมที่เขียนด้วยรหัส Mnemonics เรียกว่า ภาษา Assembly และก่อนที่จะให้ CPU ทำงานตามโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา Assembly ได้ แต่ต้องเปลี่ยนให้เป็นภาษา Machine ก่อน โดยใช้ โปรแกรมแอสเซมเบลอ 5 Jawa โครงสร้างโปรแกรมภาษาจาวา public class ชื่อคลาส { public static void main(String[] agrs) { ประโยคคำสั่งต่างๆ ของโปรแกรม; ..................................................; } } ตัวอย่างโปรแกรมภาษาจาวา ไฟล์ Example.java class Example { public static void main(String[] args) { String dataname = “Java Language“; System.out.println(“My name is OAK“); System.out.println(“OAK is a “ + dataname +“. “); } } หมายเหตุ Compile : javac Example.java จะได้ไฟล์ Example.class Run : java Example Output : My name is OAK OAK is a Java Language คำอธิบาย - method main( ) จะเป็น method หลักที่ใช้ในการ run program ดังนั้นการกระทำต่าง ๆ ที่ต้องการให้เกิดขึ้น ในการ run program จะต้องทำการเขียนคำสั่งไว้ใน method นี้ - การแสดงผลทางจอภาพ (Console Output) ใช้ method ชื่อ "println" ซึ่งอยู่ใน System.outคำสั่งนี้จะรับข้อมูลที่เป็น String เพื่อนำมาแสดงผลทางจอภาพ 6 Cobol ภาษาโคบอล (COBOL programming language) เป็นภาษาโปรแกรมระดับสูงภาษาหนึ่งที่อยู่มาอย่างยาวนาน COBOL ย่อมาจาก Common Business Oriented Language เป็นภาษาที่นิยมนำไปใช้ทางธุรกิจ ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1959 โดยนักคอมพิวเตอร์กลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า Conference on Data Systems Languages (CODASYL) และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 ภาษาโคบอลมีการแก้ไขและปรับปรุงอยู่ตลอด ดังนั้น เพื่อขจัดปัญหาความแตกต่างของตัวภาษาโคบอลในแต่ละเวอร์ชัน สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกัน (ANSI) จึงได้พัฒนามาตรฐานกลางขึ้นมาในปี ค.ศ. 1968 เป็นที่รู้จักกันในนามของ ANS COBOL ต่อมาเมื่อ ปี ค.ศ. 1974 ทาง ANSI ได้นำเสนอ ANS COBOL รุ่นใหม่ที่มีคุณสมบัติที่ดีกว่ารุ่น 1968 และในปี ค.ศ. 1985 ANSI ก็นำเสนออีกรุ่นหนึ่งที่มีคุณสมบัติมากกว่ารุ่นปี 1974 รูปแบบภาษาโคบอลแบ่งออกเป็น 4 ดิวิชั่น คือ 1. Identification division การกำหนดชื่อโปรแกรมและชื่อผู้เขียน 2. Environment division การอธิบายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 3. Data division การอธิบายเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล 4. Procedure division การอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนการประมวลผล

วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ค่าแรงดันไฟฟ้า ตามสีของสายในเพาเวอร์ซับพลาย


ใบงาน
เรื่อง ค่าแรงดันไฟฟ้าตามสีของสายในเพาเวอร์ซับพลาย
คำชี้แจง           ให้นักศึกษาบอกค่าแรงดันไฟฟ้า ตามสีของสายในเพาเวอร์ซับพลาย ดังต่อไปนี้
ที่
รายการ
แรงดันไฟฟ้า
หน่วย (Volt)
1
สายสีส้ม
+5
V.
2
สายสีดำ
Ground
V.
3
สายสีเหลือง
+12
V.
4
สายสีเขียว
PS-ON
V.
5
สายสีน้ำเงิน
-12
V.
6
สายสีขาว
-5
V.
7
สายสีแดง
+5
V.
8
สายสีม่วง
+5 VSB
V.
9
สายสีเทา
Power Good
V.
10
สายสีน้ำตาล
+3.3
V.

หน่วยความจำ


Static

Static Random Access Memory (SRAM)
จะต่างจาก DRAM ตรงที่ว่า DRAM จะต้องทำการ refresh ข้อมูลอยู่ตลอดเวลา แต่ในขณะที่ SRAM จะเก็บข้อมูลนั้นๆ ไว้ และจะไม่ทำการ refresh โดยอัตโนมัติ ซึ่งมันจะทำการ refresh ก็ต่อเมื่อ สั่งให้มัน refresh เท่านั้น ซึ่งข้อดีของมัน ก็คือความเร็ว ซึ่งเร็วกว่า DRAM ปกติมาก แต่ก็ด้วยราคาที่สูงกว่ามาก จึงเป็นข้อด้อยของมันเช่นกัน
Cach

หน่วยความจำแคช เป็นหน่วยความจำขนาดเล็กที่มีความเร็วสูง ทำหน้าที่เหมือนที่พักคำสั่ง และข้อมูลระหว่าง การทำงาน เพื่อให้การทำงานโดยรวมเร็วขึ้น แบ่งเป็นสองประเภท คือ แคชภายใน (Internal Cache) และแคชภายนอก (External Cache) โดยแคชภายใน หรือ L1 หรือ Primary Cache เป็นแคชที่อยู่ในซีพียู ส่วนแคชภายนอก เป็นชิปแบบ SRAM ติดอยู่บนเมนบอร์ด ทำงานได้ช้ากว่าแบบแรก แต่มีขนาดใหญ่กว่า เรียกอีกชื่อได้ว่า L2 หรือ Secondary Cache

Dynamic

ไดนามิกแรมหรือดีแรม (Dynamic RAM : DRAM)
 DRAM จะทำการเก็บข้อมูลในตัวเก็บประจุ ( Capacitor ) ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการ refresh เพื่อ เก็บข้อมูลให้คงอยู่ โดยการ refresh นี้ ทำให้เกิดการหน่วงเวลาขึ้นในการเข้าถึงข้อมูล และก็เนื่อง จากที่มันต้อง refresh ตัวเองอยู่ตลอดเวลานี้เอง จึงเป็นเหตุให้ได้ชื่อว่า Dynamic RAM ปัจจุบันนี้แทบจะหมดไปจากตลาดแล้ว

วิธีสํารองไดร์เวอร์ Backup Driver ก่อนลงวินโดว์ใหม่


วิธีสํารองไดร์เวอร์  Backup Driver ก่อนลงวินโดว์ใหม่
สำหรับคนที่เคยลงวินโดว์เองคงจะรู้จักโปรแกรมไดร์เวอร์ (Driver) เพราะเป็นซอฟแวร์ที่จะทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ทำงานได้ เช่น Sound card, VGA Card หรือ Webcam เป็นต้น แต่ถ้าเกิดวันดีคืนดีจำเป็นต้องลงวินโดว์ใหม่จริงๆ ซึ่งต้อง Format hard disk ข้อมูลหายหมด พอลงวินโดว์เสร็จแล้วแต่ไม่มี driver ถ้าจะหาดาวน์โหลดก็หายากเหลือเกินทางออกง่ายๆ ก็คือ ใช้ไดร์เวอร์เก่าที่เราใช้อยู่ คือเราต้องทำการสำรองออกมาเก็บไว้ตั้งแต่ก่อนที่จะฟอร์แม็ตเครื่องนั่นเอง
วิธีสํารองไดร์เวอร์ด้วย Driver Genius Professional
1.ก่อนอื่นดาวน์โหลดโปรแกรมมาติดตั้ง
2.เปิดโปรแกรมขึ้นมาดังรูป



ถ้าเป็นตัวเต็มที่ซื้อ Lisence แนะให้กดปุ่ม Start Scan เพื่อทำการอัพเดทไดร์เวอร์เป็นรุ่นใหม่ล่าสุดก่อนที่จะ Backup
-แต่สำหรับตัวฟรี ให้ไปที่ Back up Drivers  แล้วโปรแกรมจะสแกนหาไดร์เวอร์




·
3.เมื่อสแกนเสร็จแล้วจะมีให้เลือก หมวดคือ

- Currently Used Drivers (ไดร์เวอร์ที่ใช้อยู่ในตอนนี้)
- Original Windows Drivers (ไดร์เวอร์ที่ได้ติดตั้งไว้ทั้งหมด)
- Disconnected Device Drivers (ไดร์เวอร์ที่ไม่ได้เชื่อมต่ออุปกรณ์ไว้)

-สำหรับจะเลือก Currently Used Drivers แล้วก็ Next
-เลือกชิดของไฟล์สำรองได้ แบบ คือ แบบปกติแบบไฟล์ซิปไฟล์ซิปแบบแตกไฟล์เองได้ และ เป็นไฟล์ติดตั้ง


-เลือกแบบ Default จะมีโฟลเดอร์แยกชนิดและมีไฟล์ในนั้น
-กด Browse เพื่อเลือกที่เก็บไฟล์ แล้ว Next 
-โปรแกรมจะทำการสำรอง อาจจะใช้เวลานาน
-ถ้าเสร็จแล้วจะขึ้นปุ่ม Finish

Blue Screen of Dead จอสีฟ้าตัวหนังสือสีขาว


Blue Screen of Dead จอสีฟ้าตัวหนังสือสีขาว
สาเหตุและการแก้ไข Blue Screen
1. (Stop code 0X000000BE) Attempted Write to Read only Memory
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้เกิดจากการลง
 driver หรือ โปรแกรม หรือ service ที่ผิดพลาด เช่น ไฟล์บางไฟล์เสีย ไดร์เวอร์คนละรุ่นกัน ทางแก้ไขให้ uninstall โปรแกรมตัวที่ลงก่อนที่จะเกิดปัญหานี้ ถ้าเป็นไดร์เวอร์ก็ให้ทำการ roll back ไดร์เวอร์ตัวเก่ามาใช้ หรือ หาไดร์เวอร์ที่ล่าสุดมาลง (กรณีที่มีใหม่กว่า ;) ถ้าเป็นพวก service ต่างๆที่เราเปิดก่อนเกิดปัญหาก็ให้ทำการปิด หรือ disable ซะ
2. (Stop code 0X000000C2) Bad Pool Caller
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: ตัวนี้จะคล้ายกับตัวข้างบน แต่เน้นที่พวก
 Hardware คือเกิดจากอัพเกรดเครื่องพวก Hardware ต่าง เช่นram, harddisk การ์ดต่างๆ ไม่ compatible กับ XP ทางแก้ไขก็ให้เอาอุปกรณ์ที่อัพเกรดออก ถ้าจำเป็นต้องใช้ก็ให้ลงไดร์เวอร์ หรือ อัพเดท firmware ของอุปกรณ์นั้นใหม่ และคำเตือนสำหรับการจะอัพเดท ให้ปิด anti-virus ด้วยนะครับ เดียวมันจะยุ่งเพราะพวกโปรแกรม anti-virus มันจะมองว่าเป็นไวรัส
3. (Stop code 0X0000002E) Data Bus Error
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้เกิดจากการส่งข้อมูลที่เรียกว่า
 BUS ของฮาร์ดแวร์เสียหาย ซึ่งได้แก่ ระบบแรม, Cache L2 ของซีพียู, เมมโมรีของการ์ดจอ, ฮาร์ดดิสก์ทำงานหนักถึงขั้น error (ร้อนเกินไป ;) และเมนบอร์ดเสีย
4. (Stop code 0X000000D1) Driver IRQL Not Less or Equal
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการไดร์เวอร์กับ
 IRQ (Interrupt Request) ไม่ตรงกัน การแก้ไขก็เหมือนกับ error ข้อที่ 1
5. (Stop code 0X0000009F) Driver Power State Failure
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้เกิดจาก ระบบการจัดการด้านพลังงานกับไดรเวอร์ หรือ
 service ขัดแย้งกัน เมื่อคุณให้คอมทำงานแบบ"Hibernate" แนวทางแก้ไข ถ้าวินโดวส์แจ้ง error ไดร์เวอร์หรือ service ตัวไหนก็ให้ uninstall ตัวนั้น หรือจะใช้วิธี Rollback driver หรือ ปิดระบบจัดการพลังงานของวินโดวส์ซะ
6. (Stop code 0X000000CE) Driver Unloaded Without Cancelling Pending Operations
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการไดร์เวอร์ปิดตัวเองทั้งๆ ทีวินโดวส์ยังไม่ได้สั่ง การแก้ไขให้ทำเหมือนข้อ
 1
7. (Stop code 0X000000F2) Hardware Interrupt Storm
สาเหตุ และแนวทางแก้ไข: อาการที่เกิดจากอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ เช่น
 USB หรือ SCSI controller จัดตำแหน่งกับ IRQ ผิดพลาด สาเหตุจากไดร์เวอร์หรือ Firmware การแก้ไขเหมือนกับข้อ 1
8. (stop code 0X0000007B) Inaccessible Boot Device
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้จะมักเจอตอนบูตวินโดวส์ จะมีข้อความบอกว่าไม่สามารถอ่านข้อมูลของไฟล์ระบบหรือ
 Boot partitions ได้ ให้ตรวจฮาร์ดดิสก์ว่าปกติหรือไม่ สายแพหรือสายไฟที่เข้าฮาร์ดดิสก์หลุดหรือไม่ ถ้าปกติดีก็ให้ตรวจไฟล์ Boot.ini อาจจะเสีย หรือไม่ก็มีการทำงานแบบ Multi OS ให้ตรวจดูว่าที่ไฟล์นี้อาจเขียน Config ของ OS ขัดแย้งกัน อีกกรณีหนึ่งที่เกิด error นี้ คือเกิดขณะ upgrade วินโดวส์ สาเหตุจากมีอุปกรณ์บางตัวไม่ Compatible ให้ลองเอาอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นหรือคิดว่ามีปัญหาออก เมื่อทำการ upgrade วินโดวส์ เรียบร้อย ค่อยเอาอุปกรณ์ที่มีปัญหาใส่กลับแล้วติดตั้งด้วยไดร์ เวอร์รุ่นล่าสุด
9. (Stop code 0X0000007A) Kernel Data Inpage Error
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้เกิดมีปัญหากับระบบ
 virtual memory คือวินโดวส์ไม่สามารถอ่านหรือเขียนข้อมูลที่ swapfile ได้ สาเหตุอาจเกิดจากฮาร์ดดิสก์เกิด bad sector, เครื่องติดไวรัส, ระบบ SCSI ผิดพลาด, RAM เสีย หรือ เมนบอร์ดเสีย
10. (Stop code 0X00000077) Kernel Stack Inpage Error
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการและสาเหตุเดียวกับข้อ
 9
11. (stop code 0X0000001E) Kmode Exception Not Handled
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้เกิดการทำงานที่ผิดพลาดของไดร์เวอร์ หรือ
 service กับ หน่วยความจำ และ IRQ ถ้ามีรายชื่อของไฟล์หรือ service แสดงออกมากับ error นี้ให้ทำการ uninstall โปรแกรมหรือทำการ Roll back ไดร์เวอร์ตัวนั้น ถ้ามีการแจ้งว่าerror ที่ไฟล์ win32k สาเหตุเกิดจาก การ control software ของบริษัทอื่นๆ (Third-party) ที่ไม่ใช้ของวินโดวส์ ซึ่งมักจะเกิดกับพวก Networking และ Wireless เป็นส่วนใหญ่ Error นี้อาจจะเกิดสาเหตุอีกอย่าง นั้นคือการ run โปรแกรมต่างๆ แต่หน่วยความจำไม่เพียงพอ
12. (stop code 0X00000079) Mismatched Hal
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้เกิดการทำงานผิดพลาดของ
 Hardware Abstraction Layer (HAL) มาทำความเข้าใจกับเจ้าHAL ก่อน HAL มีหน้าที่เป็นตัวจัดระบบติดต่อระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอ ฟท์แวร์ว่าแอปพลิเคชั่นตัวไหนวิ่งกับอุปกรณ์ตัวไหนให ้ถูกต้อง ยกตัวอย่าง คุณมีซอฟท์แวร์ที่ออกแบบไว้ใช้กับ Dual CPU มาใช้กับเมนบอร์ดที่เป็น Single CPU วินโดว์ก็จะไม่ทำงาน วิธีแก้คือreinstalls วินโดวส์ใหม่ สาเหตุอีกประการการคือ ไฟล์ที่ชื่อ NToskrnl.exe หรือ Hal.dll หมดอายุหรือถูกแก้ไข ให้เอา Backup ไฟล์ หรือเอา original ไฟล์ที่คิดว่าไม่เสียหรือเวอร์ชั่นล่าสุดก๊อปปี้ทับไฟล์ที่เสีย
13. (Stop code 0X0000003F) No More System PTEs
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้เกิดจากระบบ Page Table Entries (PTEs) ทำงานโดย Virtual Memory Manager (VMM) ผิดพลาด ทำให้วินโดวส์ทำงานโดยไม่มี PTEs ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับวินโดวส์ อาการนี้มักจะเกิดกับการที่คุณทำงานแบบ multi monitors